บุคคลสำคัญ
พระราชประวัติ
พระบาทสมเด้จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระราชสมภพ เมื่อ วันจันทร์ ที่ ๕ ธันวาคม พุธศักราช ๒๔๗o ณ โรงพยาบาลเมาท์ออเบิน เมือง เคมบริดจ์ มลรัฐแมสซาชูเซตส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์เล็กใน สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ (พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า)และสมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ ซึ่งภายหลังทั้งสองพระองค์ได้รับการเฉลิมพระนามาภิไธย เป็นสมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกและสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มีพระเชษฐภคินีและพระเชษฐา คือ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา และ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
เมื่อพระชนมายุได้ ๕ พรรษา ได้เสด็จเข้ารับการศึดษาชั้นต้น ณ โรงเรียนมาแตร์เดอี กรุงเทพฯ จนถึงพุธศักราช ๒๔๗๖ จึงเสด็จไปประทับ ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์พร้อมด้วยเสด็จพระบรมราชชนนี พระเชษฐภคินีและพระเชษฐา เพื่อทรงศึกษาต่อในชั้นประถมศึกษา ในโรงเรียนเมียร์มองต์ ทรงศึกษาวิชาภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรามัน และภาษาอังกฤษ จากนั้นทรงเข้าศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษา ณ เอกอล นูแวล เดอ ลา ชืออิส โรมองต์ เมือง แชลลี-ชือ-โลซานน์ ทรงได้รับประกาศนียบัตรทางอักษรศาสตร์จากยิมนาสกลาชีค กังโดนาล แห่งเมืองโลซานน์ แล้วทรงศึกษาในมหาวิทยาลัยโลซานน์ โดยทรงเลือกศึกษาแขนงวิชาวิศวกรรมศาสตร์
ปีพุธศักราช ๒๔๗๗ พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอานันทมหิดลเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ ๘ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดช จึงทรงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช โดยเสด็จพระราชดำเนิน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอนันทมหิดล นิวัตประเทศไทยเป็นครั้งแรกในปีพุทธศักราช ๒๔๘๑ โดยประทับ ณ พระตำหนักจิตรดารโหฐาน พระราชวังดุสิต เป็นการชั่วคราว แล้วเสด็จกลับไปประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล นิวัติประเทศไทยเป็นครั้งที่ ๒ ครั้งนี้ประทับ ณ พระที่นั่งบรมพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง
เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พุธศักราช ๒๔๗๙ รัฐบาลในนามของประชาชนทั้งประเทศได้เข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระศรีนคริทราบรมราชชนนี กราบบังคมทูลฯขอพระราวทานอัญเชิญ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงสืบราชสมบัติ ในวันเดียวกัน แต่เนื่องจากยังทรงมีพระราชภารกิจด้านการศึกษา จึงต้องเสด็ดจพระราชดำเนินกลับไปยังประเทศสวิตเซอร์แลนด์อีกครั้ง ในเดือนสิงหาคม พุธศักราช ๒๔๘๙ เพื่อทรงศึกษาต่อ ณ มหาวิทยาลัยแห่งเดิมในครั้งนี้ ทรงเลือกศึกษาวิชากฎหมายและวิชารัฐศาสตร์ แทนวิชาวิศวกรรมศาสตร์ที่ทรงศึกษาอยู่เดิม เพื่อให้เหมาะสมกับการที่ต้องทรงดำรงตำแหน่งพระมหากษัตริย์ต่อไป
ระหว่างที่ประทับศึกษาอยู่ในต่างประเทศนั้น ทรงพบกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ธิดาในพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ และหม่อมหลวงบัว(สนิทวงศ์) กิติยากร ต่อมาทรงหมั้นกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ในวันที่ ๑๙ กรกฎาคม พุธศักราช ๒๔๙๒ ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
ในพุทธศักราช ๒๔๙๓ เสด็จพระราชดำเนินนิวัติพระนคร ประทับ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ในเดือนมีนาคม พุทธศักราช ๒๔๙๓ ต่อมาในวันที่ ๒๘ เมษายน ปีเดียวกัน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ณ พระตำหนักสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ในวังสระปทุม ซึ่งในการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสนี้ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ขึ้นเป็น สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ ในวันที่ ๕ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๙๓ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ตามแบบอย่างโบราณราชประเพณีขึ้น ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ในพระบรมมหาราชวัง (เป็นพระราชประวัติโดยสังเขป)
พระราชกรณียกิจ
เศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่ชี้แนวทางการดำรงชีวิต ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระราชดำรัสแก่ชาวไทยนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 เป็นต้นมา และถูกพูดถึงอย่างชัดเจนในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 เพื่อเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศไทย ให้สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนในกระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ
หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีความสำคัญในช่วงปี พ.ศ. 2540 ซึ่งเป็นช่วงที่ประเทศไทย ต้องประสบปัญหาภาวะทางเศรษฐกิจ และ ต้องการรักษาความมั่นคงและเสถียรภาพ เพื่อที่จะยืนหยัดในการพึ่งพาผู้อื่น และ พัฒนานโยบายที่สำคัญเพื่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริว่า มันไม่ได้มีความจำเป็นที่เราจะกลายเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ พระองค์ได้ทรงอธิบายว่า ความพอเพียงและการพึ่งตนเอง คือ ทางสายกลางที่จะป้องกันการเปลี่ยนแปลงความไม่มั่นคงของประเทศได้
เศรษฐกิจพอเพียงเชื่อว่าจะสามารถปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางสังคมของชมชุนให้ดีขึ้นโดยมีปัจจัย 2 อย่างคือ
2. ชุมชนจะต้องมีความสามารถในการจัดการทรัพยากรของตนเอง
ผลที่เกิดขึ้นคือ
- เศรษฐกิจพอเพียงสามารถที่จะคงไว้ซึ่งขนาดของประชากรที่ได้สัดส่วน
- ใช้เทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสม
- รักษาสมดุลของระบบนิเวศ และปราศจากการแทรกแซงจากปัจจัยภายนอก
...การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐาน คือ ความพอมีพอกิน พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและใช้อุปกรณ์ที่ประหยัด แต่ถูกต้องตามหลักวิชา เมื่อได้พื้นฐานมั่นคงพร้อมพอควรและปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญและฐานะเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป หากมุ่งแต่จะทุ่มเทสร้างความเจริญ ยกเศรษฐกิจขึ้นให้รวดเร็วแต่ประการเดียว โดยไม่ให้แผนปฏิบัติการสัมพันธ์กับสภาวะของประเทศและของประชาชนโดยสอดคล้องด้วย ก็จะเกิดความไม่สมดุลในเรื่องต่าง ๆ ขึ้น ซึ่งอาจกลายเป็นความยุ่งยากล้มเหลวได้ในที่สุด...
— พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2517
โครงการฝนหลวง
โครงการฝนหลวง เป็นโครงการที่เกิดขึ้นจากพระราชดำริส่วนพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เพื่อสร้างฝนเทียมสำหรับบรรเทาปัญหาความแห้งแล้งขาดแคลนน้ำในการเกษตร
ประวัติ
เมื่อคราวที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมพสกนิกร เมื่อปี พ.ศ. 2498 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้ทรงรับทราบถึงความเดือดร้อนทุกข์ยากของราษฎรและเกษตรกรที่ขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคและการเกษตร จึงได้มีพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานโครงการพระราชดำริ "ฝนหลวง"(Artificial rain) ให้กับ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล ไปดำเนินการ
การทำฝนเทียมหรือฝนหลวง
การทำฝนเทียมหรือฝนหลวงเป็นกรรมวิธีการเหนี่ยวนำน้ำจากฟ้า ใช้เครื่องบินบรรจุสารเคมีขึ้นไปโปรยในท้องฟ้า โดยดูจากความชื้นของเมฆและสภาพทิศทางลมประกอบกัน ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดฝนคือ ความร้อนชื้นปะทะความเย็น และมีแกนกลั่นตัวที่มีประสิทธิภาพในปริมาณที่เหมาะสม ฉะนั้นสารเคมีที่ใช้จึงประกอบด้วย "สูตรร้อน" ใช้เพื่อกระตุ้นเร่งเร้ากลไกการหมุนเวียนของบรรยากาศ”สูตรเย็น" ใช้เพื่อกระตุ้นกลไกการรวมตัวของละอองเมฆให้โตขึ้นเป็นเม็ดฝน และสูตรที่ใช้เป็นแกนดูดซับความชื้น เพื่อใช้กระตุ้นกลไกระบบการกลั่นตัวให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
โครงการกังหันน้ำชัยพัฒนา
กังหันน้ำชัยพัฒนาสร้างขึ้น เพื่อการแก้มลพิษทางน้ำซึ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นในหลายพื้นที่เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2531 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานรูปแบบและพระราชดำริ เรื่องการแก้ไขปัญหาน้ำเสีย โดยการเติมออกซิเจนในน้ำ มีสาระสำคัญ คือ
การเติมอากาศลงในน้ำเสีย มี 2 วิธีวิธีหนึ่ง ใช้อากาศอัดเข้าไปตามท่อเป่าลงไปใต้ผิวน้ำแบบกระจายฟองและอีกวิธีหนึ่ง น่าจะกระทำได้โดยกังหันวิดน้ำ วิดตักขึ้นไปบนผิวน้ำ แล้วปล่อยให้ตกลงไปยังผิวน้ำตามเดิม โดยที่กังหันน้ำดังกล่าวจะหมุนช้า ด้วยกำลังของมอเตอร์ไฟฟ้า ขนาดเล็กไม่เกิน 2 แรงม้า หรืออาจจะใช้พลังน้ำไหลก็ได้ จึงสมควรพิจารณาสร้างต้นแบบ แล้วนำไปติดตั้งทดลองใช้บำบัดน้ำเสียที่ภายในบริเวณโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า และวัดบวรนิเวศวิหาร
พระราชกรณียกิจด้านศิลปะ
พระราชกรณียกิจด้านศิลปวัฒนธรรม
ทรงตั้งกรมมหรสพขึ้น เพื่อฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมไทย
ทรงตั้งโรงละครหลวงขึ้นเพื่อส่งเสริมการแสดงละครในหมู่ข้าราชบริพาร
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ออกแบบอาคารสมัยใหม่เป็นแบบทรงไทย เช่น ตึกอักษรศาสตร์ ซึ่งเป็นอาคารเรียนหลังแรกของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอาคารโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย
...พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระมหากษัตริย์ยอดอัจฉริยะ ซึ่งพระองค์นั้น ทรงมีพระราชกรณียกิจมากมายนานับประการ ไม่ว่าจะเป็น การคิดค้นทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง คิดค้นโครงการฝนหลวง เพื่อให้ประชากรของพระองค์มีน้ำกินน้ำใช้ในช่วงหน้าแล้ง โครงการกังหันน้ำชัยพัฒนา และพระราชกรณีกิจด้านศิลปะและด้านอื่นๆอีกมากมาย ซึ่งแต่ละสิ่งที่พระองค์ได้ทำนั้น เพื่อมุ่งหวังจะพัฒนาประเทศชาติให้ก้าวไกล และหวังให้ประชากรของพระองค์กินดีอยู่ดีและมีความสุข...
______________________________________________
สามเหลี่ยมปีศาจ เมอร์มิวดา !
เรือเดินทะเลที่หายสาบสูญ
เครื่องบินที่หายอย่างไร้ร่องรอย
และเรื่องราวปริศนาอีกมากมาย ที่ยังไขปริศนาไม่ออก !
มันคือเรื่องลี้ลับ ? หรือ วิทยาศาสตร์สามารถอธิบายได้ ?
เราจะหาคำตอบไปพร้อมกัน...!
สามเหลี่ยมเบอร์มิวดา ?
สามเหลี่ยมเบอร์มิวดา หรืออาจรู้จักกันในชื่อ สามเหลี่ยมปีศาจ เป็นพื้นที่สมมุติทางตะวันตกของมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ซึ่งมีการอ้างว่าอากาศยานและเรือผิวน้ำจำนวนหนึ่งหายสาบสูญไปโดยหาสาเหตุมิได้ในบริเวณดังกล่าว วัฒนธรรมสมัยนิยมได้ให้เหตุผลของการหายสาบสูญว่าเป็นเรื่องของปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติหรือกิจกรรมของสิ่งมีชีวิตนอกโลก หลักฐานซึ่งบันทึกไว้ได้ระบุว่า เหตุการณ์การหายสาบสูญของอากาศยานและเรือผิวน้ำส่วนใหญ่ได้รับรายงานอย่างไม่ถูกต้องหรือถูกเสริมแต่งโดยนักประพันธ์ในช่วงหลัง และหน่วยงานของรัฐหลายแห่งได้กล่าววว่า จำนวนและธรรมชาติของการหายสาบสูญไปในพื้นที่ดังกล่าวก็มีลักษณะเช่นเดียวกับการหายสาบสูญไปในมหาสมุทรส่วนอื่น ๆ ของโลก
บริเวณรูปสามเหลี่ยมแห่งนี้เองที่เป็นแหล่งกำเนิด ปรากฏการณ์ อันลี้ลับ มหัศจรรย์
สามเหลี่ยมเบอร์มิวดาเป็นอาณาบริเวณส่วนหนึ่งของมหาสมุทรแอ็ตแลนติคภาคตะวันตก พื้นที่ทั้งหมดเริ่มจาก ตอนหนือของเบอร์มิวดาไปถึงตอนใต้ของรัฐฟลอริดาและจากฟลอริดามุ่งตรงไปทางตะวันออกทำมุมสี่สิบองศากับเส้นรุ้ง ผ่านบาฮามัสและเปอร์โตริโก จากนั้นก็ย้อนเฉียงกลับไปสู่ทางใต้ตอนเหนือของเบอร์มิวดาอีกซึ่งทำให้อาณาบริเวณแห่งนี้ กลายเป็นรูปสามเหลี่ยมและอาณาบริเวณรูปสามเหลี่ยมแห่งนี้เองที่เป็นแหล่งกำเนิด ปรากฏการณ์ อันลี้ลับ มหัศจรรย์ขึ้น ในยุคอวกาศของชาวเราในปัจจุบัน เป็นสิ่งลึกลับและเหลือ เชื่อหากจะบอก ท่านว่า เริ่มตั้งแต่หลังสงครามโลก ครั้งที่สองในปี ค.ศ. 1945 มาจนถึงปัจจุบัน เครื่องบินจำนวนกว่า 100 เครื่องและเรือ เดินสมุทร จำนวนอีกมากหลายได้ หายไปในบรรยากาศ และพื้นทะเลของสาม เหลี่ยมเบอร์มิวดาแห่งนี้ โดยไม่มีร่องรอย ชีวิตมนุษย์จำนวนพัน ในระยะเวลา กว่า 20 ปีที่ผ่านมา ได้หายไปพร้อมกับ พาหนะโดยไม่มีซากศพ แม้แต่รายเดียว หรือเศษชิ้นส่วนใด ๆ ของเรือ หรือ เครื่องบินที่หายไปเหลือให้เห็น การหายสาบสูญของเรือ เครื่องบิน และชีวิตมนุษย์ ในบริเวณดินแดนสามเหลี่ยม- เบอร์มิว ดา ยังคงปรากฏอยู่ต่อไป และมีปริมาณเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทั้ง ๆ ที่ชาติต่าง ๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการสูญเสียเหล่านี้ ต่างก็พยายามดำเนินการค้นคว้า หาสาเหตุ แห่งปรากฏการณ์อันประหลาดและลึกลับนี้อย่างเร่งด่วน แต่ก็ไม่มีใคร สามารถบอกสาเหตุ และหาทางป้องกัน จากภัยที่เกิดขึ้นในบริเวณท้องทะเลแห่งนี้ได้ไมเครื่องบินที่หายไปเหนือพื้นทะเลแห่งนี้ส่วนมากก่อนที่จะหายการติดต่อกับฐานปฏิบัติการณ์ หรือสถานีปลายทาง เป็นไปอย่างปกติ และสภาพของบรรยากาศ และทัศนะวิสัย ก็สงบและ แจ่มใสดี ไม่มีวี่แววของพายุร้ายใด ๆ แต่แล้ว เมื่อถึงบทจะหายเครื่องบินเหล่านั้นก็จะหายไป อย่างฉับพลันโดยไม่มีร่องรอย ซึ่งนักบินก็ไม่มีโอกาสที่ จะแจ้งข่าวทาง วิทยุให้หน่วยควบคุม การบินทราบได้ แต่ ก็มีเป็นจำนวนมากเหมือนกัน
แต่หากมองในหลักวิทยาศาสต์ ?!!
“นักวิทยาศาสตร์เจ๋ง!!? ไขปริศนา สามเหลี่ยมเบอร์มิวด้า เป็นฟองก๊าซขนาดยักษ์ ทำให้เรือและเครื่องบินเสียการควบคุม”
10 ส.ค.นักวิทยาศาสตร์ สามารถไขความลับสามเหลี่ยมเบอร์มิวด้า? ที่ก่อนหน้านี้เป็นปมปริศนาที่มันสามารถดูดกลืนเรือและเครื่องบินที่ผ่านบริเวณนั้นจนหายสาปสูญ จนมีผู้กล่าวขานสามเหลี่ยมดังกล่าวว่าสามเหลี่ยมผีสิง ที่จำนำพาไปสู่อีกมิติ
ล่าสุด นักวิทยาศาสตร์ค้นพบ การก่อตัวของก๊าซธรรมชาติ โดยเป็นฟองก๊าซขนาดยักษ์ ทำให้เรือและเครื่องบินเสียการควบคุม ก่อนที่จะจมดิ่งสู่สามเหลี่ยมเบอร์มิวด้า ซึ่งศาสตราจารย์โจเซฟ โมนาแกน หนึ่งในสองผู้วิจัยงานศึกษาไขปริศนาดังกล่าว เสริมว่า บริเวณนั้น มีก๊าซมีเทนจำนวนมากปะทุเป็นฟองก๊าซขนาดใหญ่ แล้วแตกตัวเหนือบริเวณดังกล่าว
เมื่อก๊าซเหล่านี้ขึ้นสู่พื้นผิว มันจะทะยานสู่อากาศ และขยายตัวเป็นวงกว้าง แล้วก่อตัวเป็นฟองก๊าซขนาดยักษ์ หากเรือลำใดแล่นผ่านมายังบริเวณนั้น แน่นอนว่าเรือก็จะเข้าไปในฟองก๊าซมีเทนขนาดใหญ่ จนทำให้เรือเสียการควบคุม และจมสู่ทะเลในที่สุด
รายงานยังระบุว่า หากฟองก๊าซมีขนาดใหญ่มากๆ ครอบคลุมความหนาแน่นระดับสูงเพียงพอ ยังสามารถทำให้เครื่องบินที่อยู่บนน่านฟ้า เหนือสามเหลี่ยมฯ เสียการควบคุม และดิ่งสงสู่ทะเลอย่างรวดเร็ว
แม้ว่าข้อสรุปของสามเหลี่ยมปีศาจนี้จะยังไม่แน่ชัด แต่ก็ได้มีคนที่พยายามหาข้อสรุปนี้ แต่โดยส่วนตัวของผู้เขียนแล้ว คิดว่าสามเหลี่ยมเบอร์มิวดา นี้น่าจะอธิบายด้วยวิทยาศาสตร์ได้ แต่หากท่านผู้อ่านท่านใดจะเชื่อแตกต่างจากนี้ก็ไม่ว่ากัน เพราะมันเป็นความเชื่อส่วนบุคคล และถ้าหากวันใดปริศนาของสามเหลี่ยมปีศาจนี้กระจ่าง เราก็คงได้รู้กันเสียที ว่ามันคือวิทยาศาสตร์ หรือ สิ่งลี้ลับเหนือธรรมชาติกันแน่ ?!