วันศุกร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ในหลวง รัชกาลที่๙

ในหลวง รัชการที่๙


พระราชประวัติ
พระบาทสมเด้จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระราชสมภพ เมื่อ วันจันทร์ ที่ ๕ ธันวาคม พุธศักราช ๒๔๗ณ  โรงพยาบาลเมาท์ออเบิน  เมือง  เคมบริดจ์ มลรัฐแมสซาชูเซตส์  ประเทศสหรัฐอเมริกา ทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์เล็กใน สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช  กรมหลวงสงขลานครินทร์ (พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  และ สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี  พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า)และสมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์  ซึ่งภายหลังทั้งสองพระองค์ได้รับการเฉลิมพระนามาภิไธย  เป็นสมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกและสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มีพระเชษฐภคินีและพระเชษฐา คือ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา และ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
       เมื่อพระชนมายุได้ ๕  พรรษา ได้เสด็จเข้ารับการศึดษาชั้นต้น  ณ  โรงเรียนมาแตร์เดอี  กรุงเทพฯ  จนถึงพุธศักราช ๒๔๗๖ จึงเสด็จไปประทับ ณ  เมืองโลซานน์  ประเทศสวิตเซอร์แลนด์พร้อมด้วยเสด็จพระบรมราชชนนี  พระเชษฐภคินีและพระเชษฐา  เพื่อทรงศึกษาต่อในชั้นประถมศึกษา  ในโรงเรียนเมียร์มองต์  ทรงศึกษาวิชาภาษาฝรั่งเศส  ภาษาเยอรามัน  และภาษาอังกฤษ  จากนั้นทรงเข้าศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษา  ณ  เอกอล  นูแวล  เดอ  ลา  ชืออิส  โรมองต์  เมือง  แชลลี-ชือ-โลซานน์  ทรงได้รับประกาศนียบัตรทางอักษรศาสตร์จากยิมนาสกลาชีค  กังโดนาล  แห่งเมืองโลซานน์  แล้วทรงศึกษาในมหาวิทยาลัยโลซานน์  โดยทรงเลือกศึกษาแขนงวิชาวิศวกรรมศาสตร์
       ปีพุธศักราช  ๒๔๗๗  พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอานันทมหิดลเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์  รัชกาลที่ ๘ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์  พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดช  จึงทรงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ  เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช  โดยเสด็จพระราชดำเนิน  สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอนันทมหิดล  นิวัตประเทศไทยเป็นครั้งแรกในปีพุทธศักราช ๒๔๘๑ โดยประทับ ณ พระตำหนักจิตรดารโหฐาน  พระราชวังดุสิต  เป็นการชั่วคราว  แล้วเสด็จกลับไปประเทศสวิตเซอร์แลนด์  สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล  นิวัติประเทศไทยเป็นครั้งที่ ๒ ครั้งนี้ประทับ ณ พระที่นั่งบรมพิมาน  ในพระบรมมหาราชวัง 
      เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล  เสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน  พุธศักราช ๒๔๗๙  รัฐบาลในนามของประชาชนทั้งประเทศได้เข้าเฝ้าฯ  สมเด็จพระศรีนคริทราบรมราชชนนี  กราบบังคมทูลฯขอพระราวทานอัญเชิญ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงสืบราชสมบัติ ในวันเดียวกัน   แต่เนื่องจากยังทรงมีพระราชภารกิจด้านการศึกษา  จึงต้องเสด็ดจพระราชดำเนินกลับไปยังประเทศสวิตเซอร์แลนด์อีกครั้ง  ในเดือนสิงหาคม  พุธศักราช ๒๔๘๙  เพื่อทรงศึกษาต่อ  ณ  มหาวิทยาลัยแห่งเดิมในครั้งนี้  ทรงเลือกศึกษาวิชากฎหมายและวิชารัฐศาสตร์  แทนวิชาวิศวกรรมศาสตร์ที่ทรงศึกษาอยู่เดิม  เพื่อให้เหมาะสมกับการที่ต้องทรงดำรงตำแหน่งพระมหากษัตริย์ต่อไป
     ระหว่างที่ประทับศึกษาอยู่ในต่างประเทศนั้น ทรงพบกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ธิดาในพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ และหม่อมหลวงบัว(สนิทวงศ์) กิติยากร  ต่อมาทรงหมั้นกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์  กิติยากร ในวันที่ ๑๙  กรกฎาคม พุธศักราช ๒๔๙๒  ณ  เมืองโลซานน์  ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
     ในพุทธศักราช ๒๔๙๓ เสด็จพระราชดำเนินนิวัติพระนคร ประทับ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ในเดือนมีนาคม พุทธศักราช ๒๔๙๓ ต่อมาในวันที่ ๒๘ เมษายน ปีเดียวกัน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ณ พระตำหนักสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ในวังสระปทุม ซึ่งในการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสนี้ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ขึ้นเป็น สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์  ในวันที่ ๕ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๙๓ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ตามแบบอย่างโบราณราชประเพณีขึ้น ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ในพระบรมมหาราชวัง  (เป็นพระราชประวัติโดยสังเขป)

พระราชกรณียกิจ


เศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่ชี้แนวทางการดำรงชีวิต ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระราชดำรัสแก่ชาวไทยนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 เป็นต้นมา และถูกพูดถึงอย่างชัดเจนในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 เพื่อเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศไทย ให้สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนในกระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ
หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีความสำคัญในช่วงปี พ.ศ. 2540 ซึ่งเป็นช่วงที่ประเทศไทย ต้องประสบปัญหาภาวะทางเศรษฐกิจ และ ต้องการรักษาความมั่นคงและเสถียรภาพ เพื่อที่จะยืนหยัดในการพึ่งพาผู้อื่น และ พัฒนานโยบายที่สำคัญเพื่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริว่า มันไม่ได้มีความจำเป็นที่เราจะกลายเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ พระองค์ได้ทรงอธิบายว่า ความพอเพียงและการพึ่งตนเอง คือ ทางสายกลางที่จะป้องกันการเปลี่ยนแปลงความไม่มั่นคงของประเทศได้
เศรษฐกิจพอเพียงเชื่อว่าจะสามารถปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางสังคมของชมชุนให้ดีขึ้นโดยมีปัจจัย 2 อย่างคือ
1.  การผลิตจะต้องมีความสัมพันธ์กันระหว่าง ปริมาณผลผลิตและการบริโภค
 ชุมชนจะต้องมีความสามารถในการจัดการทรัพยากรของตนเอง
ผลที่เกิดขึ้นคือ
  • เศรษฐกิจพอเพียงสามารถที่จะคงไว้ซึ่งขนาดของประชากรที่ได้สัดส่วน
  • ใช้เทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสม
  • รักษาสมดุลของระบบนิเวศ และปราศจากการแทรกแซงจากปัจจัยภายนอก

...การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐาน คือ ความพอมีพอกิน พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและใช้อุปกรณ์ที่ประหยัด แต่ถูกต้องตามหลักวิชา เมื่อได้พื้นฐานมั่นคงพร้อมพอควรและปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญและฐานะเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป หากมุ่งแต่จะทุ่มเทสร้างความเจริญ ยกเศรษฐกิจขึ้นให้รวดเร็วแต่ประการเดียว โดยไม่ให้แผนปฏิบัติการสัมพันธ์กับสภาวะของประเทศและของประชาชนโดยสอดคล้องด้วย ก็จะเกิดความไม่สมดุลในเรื่องต่าง ๆ ขึ้น ซึ่งอาจกลายเป็นความยุ่งยากล้มเหลวได้ในที่สุด...

— พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2517


โครงการฝนหลวง
โครงการฝนหลวง เป็นโครงการที่เกิดขึ้นจากพระราชดำริส่วนพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เพื่อสร้างฝนเทียมสำหรับบรรเทาปัญหาความแห้งแล้งขาดแคลนน้ำในการเกษตร
ประวัติ
เมื่อคราวที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมพสกนิกร เมื่อปี พ.ศ. 2498 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้ทรงรับทราบถึงความเดือดร้อนทุกข์ยากของราษฎรและเกษตรกรที่ขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคและการเกษตร จึงได้มีพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานโครงการพระราชดำริ "ฝนหลวง"(Artificial rain) ให้กับ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล ไปดำเนินการ
การทำฝนเทียมหรือฝนหลวง
การทำฝนเทียมหรือฝนหลวงเป็นกรรมวิธีการเหนี่ยวนำน้ำจากฟ้า ใช้เครื่องบินบรรจุสารเคมีขึ้นไปโปรยในท้องฟ้า โดยดูจากความชื้นของเมฆและสภาพทิศทางลมประกอบกัน ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดฝนคือ ความร้อนชื้นปะทะความเย็น และมีแกนกลั่นตัวที่มีประสิทธิภาพในปริมาณที่เหมาะสม ฉะนั้นสารเคมีที่ใช้จึงประกอบด้วย "สูตรร้อน" ใช้เพื่อกระตุ้นเร่งเร้ากลไกการหมุนเวียนของบรรยากาศ”สูตรเย็น" ใช้เพื่อกระตุ้นกลไกการรวมตัวของละอองเมฆให้โตขึ้นเป็นเม็ดฝน และสูตรที่ใช้เป็นแกนดูดซับความชื้น เพื่อใช้กระตุ้นกลไกระบบการกลั่นตัวให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น

 โครงการกังหันน้ำชัยพัฒนา
กังหันน้ำชัยพัฒนาสร้างขึ้น เพื่อการแก้มลพิษทางน้ำซึ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นในหลายพื้นที่
เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2531 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานรูปแบบและพระราชดำริ เรื่องการแก้ไขปัญหาน้ำเสีย โดยการเติมออกซิเจนในน้ำ มีสาระสำคัญ คือ 
การเติมอากาศลงในน้ำเสีย มี 2 วิธีวิธีหนึ่ง ใช้อากาศอัดเข้าไปตามท่อเป่าลงไปใต้ผิวน้ำแบบกระจายฟองและอีกวิธีหนึ่ง น่าจะกระทำได้โดยกังหันวิดน้ำ วิดตักขึ้นไปบนผิวน้ำ แล้วปล่อยให้ตกลงไปยังผิวน้ำตามเดิม โดยที่กังหันน้ำดังกล่าวจะหมุนช้า ด้วยกำลังของมอเตอร์ไฟฟ้า ขนาดเล็กไม่เกิน 2 แรงม้า หรืออาจจะใช้พลังน้ำไหลก็ได้ จึงสมควรพิจารณาสร้างต้นแบบ แล้วนำไปติดตั้งทดลองใช้บำบัดน้ำเสียที่ภายในบริเวณโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า และวัดบวรนิเวศวิหาร

                                               พระราชกรณียกิจด้านศิลปะ
พระราชกรณียกิจด้านศิลปวัฒนธรรม
                                                              ทรงตั้งกรมมหรสพขึ้น เพื่อฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมไทย
ทรงตั้งโรงละครหลวงขึ้นเพื่อส่งเสริมการแสดงละครในหมู่ข้าราชบริพาร
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ออกแบบอาคารสมัยใหม่เป็นแบบทรงไทย เช่น ตึกอักษรศาสตร์ ซึ่งเป็นอาคารเรียนหลังแรกของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอาคารโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย

...พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระมหากษัตริย์ยอดอัจฉริยะ ซึ่งพระองค์นั้น ทรงมีพระราชกรณียกิจมากมายนานับประการ ไม่ว่าจะเป็น การคิดค้นทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง คิดค้นโครงการฝนหลวง เพื่อให้ประชากรของพระองค์มีน้ำกินน้ำใช้ในช่วงหน้าแล้ง โครงการกังหันน้ำชัยพัฒนา และพระราชกรณีกิจด้านศิลปะและด้านอื่นๆอีกมากมาย ซึ่งแต่ละสิ่งที่พระองค์ได้ทำนั้น เพื่อมุ่งหวังจะพัฒนาประเทศชาติให้ก้าวไกล และหวังให้ประชากรของพระองค์กินดีอยู่ดีและมีความสุข...

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น